บทที่ 4 ระบบสารสนเทศทางการบัญชีและกระบวนการทางธุรกิจ - ส่วนที่ 2 - Accounting Information System

Accounting Information System

Accounting Information System

Post Top Ad

Responsive Ads Here

วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2562

บทที่ 4 ระบบสารสนเทศทางการบัญชีและกระบวนการทางธุรกิจ - ส่วนที่ 2


วัตถุประสงค์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีวัตถุประสงค์สำคัญที่จะช่วยขยายบทบาทหน้าที่งานด้านทรัพยากรมนุษย์ให้มีขอบข่ายของการปฏิบัติที่กว้างขึ้น เพื่อครอบคลุมดูแลการปฏิบัติภารกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรและองค์การ ดังนี้
1. เพื่อช่วยให้บุคลากรใช้ทักษะ ความรู้ ความสามารถปฏิบัติงานของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2. เพื่อช่วยองค์การดำเนินงานบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
3. เพื่อช่วยคัดสรรบุคลากรที่มีคุณภาพ และมีแรงจูงใจใฝ่หาผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับสูงเข้ามาปฏิบัติงาน
4. เพื่อยกระดับความสามารถ และสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร
5. เพื่อพัฒนา และธำรงรักษาบุคลากรที่มีคุณค่าให้ปฏิบัติงานในระดับที่พึงปรารถนาขององค์การ
นอกจากนี้ วัตถุประสงค์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาพรวมยังสามารถตอบสนองความต้องการในระดับต่างๆ ได้ดังนี้
1. สนองความต้องการระดับสังคม (Society’s Requirment) โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ที่สังคมจะได้รับ ให้บุคลากรทุกคนมีความเป็นอยู่อย่างเหมาะสม มีงานทำมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ ตลอดจนพัฒนาบุคลากรให้มีความเป็นผู้นำที่ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นที่ต้องการของสังคม
2. สนองความคาดหวังระดับการบริหารขององค์การ (Management’s ) ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ องค์การมีความคาดหวังที่จะได้บุคลากรที่มีศักยภาพในการปฏิบัติงานอย่างแท้จริง ซึ่งจะส่งผลทำให้องค์การเจริญเติบโตก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นงานด้ายการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จึงต้องตระหนักภาระหน้าที่ที่สำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดคนเข้าทำงาน โดยดูแลตั่งแต่ก่อนเข้าปฏิบัติงาน ระหว่างปฏิบัติงาน และหลังปฏิบัติงาน เพื่อสร้างความมั่นใจ ความศรัทธา ให้แก่บุคลากรทุกคนที่จะเข้ามาร่วมงาน และสร้างความแข็งแกร่งให้องค์การต่อไป
3. สนองความต้องการระดับผู้ปฏิบัติงาน (Employee’s Need) องค์การจะต้องตระหนักเสมอว่า บุคลากรหรือผู้ปฏิบัติงานทุกคนต่างมุ่งหวังที่จะมีวิธีการดำรงชีวิตที่ดีในสังคม ครอบครัวมีความสุข สังคมยอมรับยกย่อง และมีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ดังนั้น ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์จึงไม่ควรละเลยต่อความต้องการพื้นฐานที่บุคลากรทุกคนควรจะได้รับ เพราะ สิ่งเหล่านี้จะย้อนกลับมาสร้างความเจริญเติบโตให้แก่องค์การในท้ายที่สุด (วิลาวรรณ รพีพิศาล. (2554). ความรู้พื้นฐานในการบริหารทรัพยากรมนุษย์. ใน. การบริหารทรัพยากรมนุษย์. (หน้า 1-9). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ วิจิตรหัตถกร) (http://www.tpa.or.th)
การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management)
การบริหารงานหรือบริหารองค์กร มนุษย์ถือเป็นทรัพยากรสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนกระบวนการทำงานให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุด ผู้บริหารจึงต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการบริหารคนให้ได้งานหรือบริหารงานให้เหมาะกับตัวบุคคล
การจัดการทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง กระบวนการจัดการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคน การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน การจัดวางตำแหน่งของบุคคลให้เหมาะสมกับงานตลอดจนการจัดสวัสดิการ การจ่ายเงินเดือนหรือค่าตอบแทน การพิจารณาบทบาทหน้าที่และการควบคุมการทำงานของบุคลากรให้ทำงานอย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งกระบวนการแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่
1. ระยะการคัดเลือกหรือได้มาซึ่งทรัพยากรมนุษย์ ในกระบวนการนี้มีกิจกรรมสำคัญอยู่ 4 ขั้นตอน ได้แก่
· 1.1 ขั้นตอนการวางแผน เริ่มจากกำหนดอัตรากำลังทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การ
· การคำนวณจำนวนบุคลากรที่จะรับตามกรอบอัตรากำลัง การจัดทำประวัติบุคลากร การประเมินความเปลี่ยนแปลงของอัตรากำลัง เช่น ลาออก โอน ย้าย หรือเกษียณ และการวางแผนพัฒนาทรัพยากร เช่น ให้การศึกษาอบรมเพื่อเพิ่มทักษะ
· 1.2 ขั้นตอนการสรรหา เป็นการประกาศเชิญชวนผู้สนใจให้มาสมัคร และอาจสรรหาจากทรัพยากรภายในองค์การหรือภายนอกองค์การก็ได้ แต่ต้องให้เหมาะสมกับหน้าที่งาน กระบวนการสรรหาเริ่มจากการสอบแข่งขัน การสัมภาษณ์ หรือวิธีการอื่นๆ ตามที่กำหนดไว้
· 1.3 ขั้นตอนการคัดเลือก วิธีการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานจะมีหลายรูปแบบหลักๆมักจะเป็นการวัดความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานในตำแหน่งนั้นๆ เช่น การตรวจสอบประวัติจากเอกสาร การสัมภาษณ์ การทดสอบความรู้ การทดสอบภาคปฏิบัติ และการทดสอบทางจิตวิทยา
· 1.4 การปฐมนิเทศ คือ การแนะนำให้เข้าใจวัฒนธรรมขององค์กรระบบการทำงาน
2. ระยะการควบคุมดูแลและรักษาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างปฏิบัติงานในองค์กร ประกอบด้วย การประเมินผลงาน การจัดวางคน การฝึกอบรมและพัฒนา ระเบียบวินัย การบริหารค่าตอบแทนและสวัสดิการ การช่วยเหลือให้คำปรึกษา การดูแลสุขภาพและความปลอดภัย ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ทรัพยากรมนุษย์สามารถทำงานได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
ระยะสุดท้าย คือการพ้นจากงาน การจัดสวัสดิการตอบแทนหลังเกษียณหรือการพ้นจากงานในกรณีอื่นๆเช่นการเลิกจ้าง (https://www.im2market.com)
ความสำคัญของการจัดการทรัพยากรมนุษย์
การจัดการทรัพยากรมนุษย์ มีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับการบริหารองค์กร เพราะ ทรัพยากรมนุษย์จะเป็นผู้สร้างสรรค์และขับเคลื่อนงานขององค์กรให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ดังนั้น การจัดการทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญกับการบริหารองค์กร ดังนี้
1. ทำให้องค์กรมีทรัพยากรบุคคลทำงานที่เพียงพอและต่อเนื่อง
2. เป็นการเพิ่มศักยภาพของทรัพยากรบุคคลให้ทำงานได้ ทำงานเป็น และ ทำงานได้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่าง ๆ ในการบริหารองค์การ
3. ช่วยสร้างความเจริญเติบโตมั่นคงให้แก่องค์การ เพราะ การบริหารทรัพยากรมนุษย์จะทำให้ได้บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ
4. ช่วยสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานให้กับบุคลากร
5. เป็นการกระตุ้นให้บุคลากรตื่นตัวที่จะเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ
6. ช่วยสร้างความมั่นคงให้แก่สังคม ช่วยส่งเสริมให้บุคลากรมีคุณภาพ มีงานทำ และทำให้ประเทศชาติพัฒนา
7. ทำให้มีการบริหารค่าตอบแทนและสวัสดิการแก่บุคลากรอย่างเหมาะสม
8. ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ปฏิบัติงานและฝ่ายผู้บริหารเพื่อให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการทำงาน และเป็นการลดความขัดแย้งและกรณีพิพาทต่างๆ ที่จะส่งผลลบต่อองค์กร
9. ทำให้เกิดการประเมินผลงานของบุคลากรที่เหมาะสมและสนับสนุนคนทำงานดีมีคุณภาพให้ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
10. ช่วยให้พนักงานในองค์กรได้ค้นพบศักยภาพของตนเอง และพัฒนาตนเองให้มีความสามารถเชิงสมรรถนะในการปฏิบัติงานได้อย่าวงเต็มที่ (https://www.im2market.com)
ขอบเขตของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
ขอบเขตของการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้นมีความกว้างและครอบคลุมหลายด้าน ดังนี้
1. ด้านบุคคล
การบริหารทรัพยากรมนุษย์เกี่ยวพันโดยตรงกับงานฝ่ายบุคคลส่วนต่าง ๆ เช่น
– การวางแผนเกี่ยวกับกำลังคนหรือการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
– การสรรหาบุคลากร
– การคัดเลือกบุคลากร
– การบรรจุหรือแต่งตั้งบุคลากร
– การโยกย้ายบุคลากร
– การเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง
– การฝึกอบรม ฝึกปฏิบัติการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
– การเลิกจ้างและการยุบตำแหน่ง
– การจัดการบริหารค่าตอบแทน สวัสดิการและผลประโยชน์ที่พนักงานพึงได้
– การสร้างแรงจูงใจด้วยการให้เงินเดือนขึ้น
– การประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร
2. ด้านสวัสดิการ
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ยังเกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดการสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้เอื้ออำนวยต่อการทำงานให้มากที่สุด เช่น
– การดูแลโรงอาหาร ห้องพักกลางวัน ห้องอาหาร
– การจัดการที่พักอาศัยให้กับพนักงาน
– การจัดการด้านการคมนาคมขนส่ง
– การอำนวยความสะดวกด้านการแพทย์ เช่น ดูแลห้องพยาบาล
– การจัดการการให้ทุน หรือส่งเสริมด้านการศึกษาให้กับพนักงาน
– การจัดการบริหารค่าตอบแทนให้พนักงานอย่างเหมาะสม
– การดูแลด้านสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน
– การจัดการสถานที่พักผ่อนหย่อนใจหรือจัดกิจกรรมสันทนาการให้กับพนักงาน
3. ด้านความสัมพันธ์กับธุรกิจและองค์กร
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ยังครอบคลุมถึงการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรกับองค์กรในด้านต่าง ๆ เช่น
– การส่งเสริมเรื่องแรงงานสัมพันธ์
– การจัดการการประชุมระหว่างผู้แทนนายจ้างและผู้แทนลูกจ้าง
– การจัดการการเจรจาต่อรองระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
– การจัดการเรื่องการร้องทุกข์ของบุคลากร
– การดำเนินการเกี่ยวกับระเบียบวินัยของพนักงาน
– การจัดการการระงับข้อพิพาทระหว่างนายจ้างและลูกจ้างและพนักงานทั่วไป
(https://th.jobsdb.com)
การจัดการสินทรัพย์ถาวร
1. ทำไมต้องมีการบริหารจัดการสินทรัพย์ Fixed Assets Consultants : เพราะว่าตั้งแต่ในอดีต แต่ละบริษัทฯ ที่จัดตั้งขึ้นมานั้น ยังไม่ได้สนใจในเรื่องสินทรัพย์ แต่ในปัจจุบันนี้ด้วยภาวะเศรษฐกิจโลกอย่างนี้ เจ้าของบริษัทฯทุกบริษัทฯ จึงต้อง Control สินทรัพย์ของตนเองให้ได้มากที่สุด เพราะจะเป็นการ Save Cost อีกอย่างหนึ่ง บางบริษัทฯมี Assets ที่ดีๆ อยู่ในมืออยู่แล้ว แต่ไม่เคยรู้เลยว่ามีทรัพย์สินนั้นอยู่มีแต่สั่งซื้อเข้ามาใหม่ ทำให้สิ้นเปลืองเปล่าๆ แต่ถ้ามีการ Manage สินทรัพย์ที่ดี เจ้าของบริษัทฯก็จะรู้เลยว่า สินทรัพย์เรามีอะไรบ้าง มีมูลค่าเท่าไร อยู่ตรงไหน ของหายกี่ชิ้น และถ้ามีทรัพย์สินที่มีประโยชน์อยู่แล้ว ก็จะได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่บริษัทฯหรือองค์กรให้มากที่สุด
2. สิ่งที่จะได้รับหรือประโยชน์จากการมีระบบบริหารสินทรัพย์ Consultant :
· 1. เมื่อมีการ Manage สินทรัพย์ที่ดีแล้ว สิ่งที่จะได้ตามมาอย่างแรกที่เห็นเร็วที่สุดคือ รู้เลยว่าของของเรายังอยู่กี่ชิ้น หายไปกี่ชิ้น และมีมูลค่าเท่าไร
· 2. ถ้าเรามีระบบบริหาร Fixed Assets ที่ดี ถ้ามีบริษัทฯอื่นอยากจะร่วมลงทุนด้วย ก็จะทำให้บริษัทฯนั้นๆ เชื่อมั่นในบริษัทฯเรา รวมทั้งบริษัทฯคู่ค้า ก็อยากจะทำการค้ากับบริษัทฯของเรา
· 3. ถ้าบริษัทฯเราจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ นโยบายบางข้อของตลาดหลักทรัพย์ คือ เขาจะให้บริษัทฯที่จะจดทะเบียน ต้องมีระบบบริหารสินทรัพย์ถาวรที่น่าเชื่อถือเสียก่อน
· 4. ถ้าเรามีระบบการบริหาร Fixed Asset ที่ดี สินทรัพย์ของบริษัทฯ ก็จะหายน้อยลง เพราะว่าแต่ก่อน อุปกรณ์ชิ้นเล็กชิ้นน้อย มีการสูญหายได้ง่าย เมื่อมีระบบการจัดการ ทุกๆฝ่ายจะมีความตื่นตัว และมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสินทรัพย์ของบริษัทฯร่วมกัน
3. ปัญหาของฝ่ายบัญชี, ฝ่าย Admin หรือฝ่ายอื่นๆ Consultant: ปัญหาของฝ่ายบัญชีถ้าไม่มีระบบ Fixed Asset ที่ดีมาช่วยในการ Manage เท่าที่พบคือ ฝ่ายบัญชีจะใช้ Excel ในการคิด DP หรือ Control สินทรัพย์ แต่พอเมื่อมีการตรวจสอบสินทรัพย์จริงๆ ก็จะไม่รู้ว่าสินทรัพย์เราอยู่ที่ Location ไหน ใครเป็นผู้ดูแลสินทรัพย์นั้นๆ เมื่อฝ่าย Admin สอบถาม ฝ่ายบัญชีก็จะต้องอิงตามข้อมูลใน Excel file โดยที่จริงๆแล้ว สินทรัพย์หรือของสิ่งนั้น อาจมีการย้าย ไปแผนกอื่นแล้ว หรือหายไปแล้ว ซึ่งเป็นการดูข้อมูลจากตัวเลขใน Excel file เท่านั้น ปัญหาของฝ่าย Admin และฝ่ายอื่นๆอย่างที่กล่าวมาแล้วว่า ฝ่ายบัญชีจะดูตัวเลขจาก Excel file ส่วนฝ่าย Admin เป็นผู้ดูแลทรัพย์สิน หรือ Control ทรัพย์สิน ถ้าไม่มีระบบบริหารจัดการ Fixed Assets ที่ดี ฝ่าย Admin จะทำงานยุ่งยากมากขึ้น เพราะว่าเป็นคนที่จะต้องตามหาของให้เจอ เพราะถ้าตรวจสอบหรือหาของไม่พบ ความผิดก็จะตกอยู่กับฝ่าย Admin ดังนั้นจึงควรมีระบบโปรแกรมบริหารจัดการสินทรัพย์ที่ดี จึงจะช่วยให้การทำงานเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพสูงสุด ส่วนฝ่ายอื่นๆ ถ้ามีการยืมสินทรัพย์ไปใช้ การมีโปรแกรมบริหารจัดการที่ดี ก็จะมีการบันทึกการ Transfer จากแผนกหนึ่งไปยังอีกแผนกหนึ่งซึ่งจะเป็นข้อมูลเก็บไว้ในโปรแกรม ปัญหาหนึ่งที่พบเจอบ่อยคือ เมื่อมีการยืมของแล้ว ไม่มีการทำ Document ยืม พอของหาย ก็ทำการโทษกันไปโทษกันมา ซึ่งไม่เกิดประโยชน์
4. เครื่องมือ วิธีการ ในการจัดการสินทรัพย์ถาวร Consultant: สิ่งสำคัญที่สุดคือ การสร้างจิตสำนึกให้พนักงานทุกคน รู้สึกว่าทรัพย์สินของบริษัทฯ เปรียบเสมือนเป็นทรัพย์สินของเรา แล้วทรัพย์สินทุกอย่างของบริษัทฯจะไม่มีการสูญหายและได้ใช้งาน ให้เกิดประโยชน์กับบริษัทฯให้มากที่สุด การใช้โปรแกรมหรือ Software จะเป็นข้อมูลให้กับทางฝ่ายบริหารฯในการตัดสินใจ โดยการใช้ Reports ต่างๆ (http://www.mbtech.co.th)
กระบวนการผลิต
กระบวนการผลิตประเภทใดที่ผู้ผลิต และบริษัทผู้ให้บริการใช้ ในการวางแผนการผลิตการตัดสินใจครั้งแรกเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตประเภทใด วิธีสร้างสินค้าหรือบริการที่ดีที่สุดเหมาะสมกับเป้าหมายของ บริษัท และความต้องการของลูกค้า การพิจารณาที่สำคัญคือประเภทของสินค้าหรือบริการที่กำลังผลิตเนื่องจากสินค้าที่ต่างกันอาจต้องการกระบวนการผลิตที่แตกต่างกัน โดยทั่วไปการผลิตมีสามประเภท: การผลิตจำนวนมากการปรับแต่งจำนวนมากและการปรับแต่ง นอกเหนือจากประเภทการผลิตผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการยังจัดประเภทกระบวนการผลิตในสองวิธี: (1) วิธีการแปลงอินพุตเป็นเอาต์พุตและ (2) ระยะเวลาของกระบวนการ (http://www.mbtech.co.th)

หนึ่งเดียวสำหรับทุกคน: การผลิตจำนวนมาก

การผลิตจำนวนมากผลิตสินค้าที่เหมือนกันจำนวนมากในครั้งเดียวเป็นผลิตภัณฑ์ของการปฏิวัติอุตสาหกรรม รถยนต์Model-T ของHenry Fordเป็นตัวอย่างที่ดีของการผลิตจำนวนมาก รถแต่ละคันเปิดออกโดยฟอร์ดโรงงานของนั้นเหมือนกันหมดไปจนถึงสีของมัน หากคุณต้องการรถสีใดก็ได้ยกเว้นสีดำแสดงว่าคุณไม่มีโชค สินค้ากระป๋องยาที่ขายตามเคาน์เตอร์และเครื่องใช้ในครัวเรือนเป็นอีกตัวอย่างของสินค้าที่ผลิตเป็นจำนวนมาก ความสำคัญในการผลิตจำนวนมากคือการรักษาต้นทุนการผลิตให้ต่ำโดยการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกันโดยใช้กระบวนการที่ทำซ้ำและได้มาตรฐาน เมื่อผลิตภัณฑ์มีความซับซ้อนในการผลิตการผลิตจำนวนมากก็มีความซับซ้อนมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่นผู้ผลิตรถยนต์จะต้องผนวกรวมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความซับซ้อนเข้ากับการออกแบบรถยนต์ของพวกเขา เป็นผลให้จำนวนสถานีประกอบในโรงงานผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น
สำหรับคุณโดยเฉพาะ: การปรับแต่งสินค้า
ในการปรับแต่งจำนวนมากสินค้าจะถูกผลิตโดยใช้เทคนิคการผลิตจำนวนมาก แต่จนถึงจุดหนึ่ง ณ จุดนั้นผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นได้รับการปรับแต่งให้เหมาะกับความต้องการหรือความต้องการของลูกค้ารายบุคคล ตัวอย่างเช่นAmerican Leatherผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ดัลลัสใช้การปรับแต่งจำนวนมากเพื่อผลิตโซฟาและเก้าอี้ตามข้อกำหนดของลูกค้าภายใน 30 วัน เฟรมพื้นฐานในเฟอร์นิเจอร์เหมือนกัน แต่เครื่องจักรตัดอัตโนมัติช่วยให้สีและประเภทของหนังสั่งซื้อจากลูกค้าแต่ละราย โดยใช้เทคนิคการผลิตจำนวนมากพวกเขาจะถูกเพิ่มเข้าไปในแต่ละเฟรม
การปรับแต่งเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับการผลิตจำนวนมาก ในการปรับแต่ง บริษัท ผลิตสินค้าหรือบริการทีละครั้งตามความต้องการเฉพาะหรือความต้องการของลูกค้ารายบุคคล ซึ่งแตกต่างจากการปรับแต่งจำนวนมากแต่ละผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ผลิตมีเอกลักษณ์ ตัวอย่างเช่นโรงพิมพ์อาจจัดการกับโครงการ ที่หลากหลายรวมถึงจดหมายข่าวแผ่นพับเครื่องเขียนและรายงาน งานพิมพ์แต่ละงานจะแตกต่างกัน ในปริมาณประเภทของกระบวนการพิมพ์การผูกสีของหมึกและชนิดของกระดาษ บริษัท ผลิตที่ผลิตสินค้าในการตอบสนองต่อคำสั่งซื้อของลูกค้าที่เรียกว่าร้านงาน
การจำแนกประเภทการผลิต(คุณสมบัติ: มหาวิทยาลัยข้าวลิขสิทธิ์ OpenStax ภายใต้ใบอนุญาต CC BY 4.0) (http://www.mbtech.co.th)
การแปลงอินพุตเป็นเอาต์พุต
ตามที่ระบุไว้ก่อนหน้าการผลิตเกี่ยวข้องกับการแปลงปัจจัยการผลิต (ทรัพยากรธรรมชาติวัตถุดิบทรัพยากรมนุษย์ทุน) เป็นผลผลิต (ผลิตภัณฑ์หรือบริการ) ใน บริษัท ผู้ผลิตปัจจัยการผลิตกระบวนการผลิตและผลลัพธ์สุดท้ายมักจะชัดเจน ตัวอย่างเช่นHarley-Davidsonแปลงเหล็กยางสีและปัจจัยอื่น ๆ เป็นรถจักรยานยนต์ แต่กระบวนการผลิตใน บริษัท ที่ให้บริการเกี่ยวข้องกับการแปลงที่ชัดเจนน้อยกว่า ตัวอย่างเช่นโรงพยาบาลแปลงความรู้และทักษะของบุคลากรทางการแพทย์พร้อมกับอุปกรณ์และวัสดุสิ้นเปลืองจากแหล่งต่างๆเพื่อการบริการด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วย มีสองกระบวนการพื้นฐานสำหรับการแปลงอินพุตเป็นเอาต์พุต ในการผลิตตามกระบวนการปัจจัยการผลิตขั้นพื้นฐาน (ทรัพยากรธรรมชาติวัตถุดิบ) จะถูกแบ่งออกเป็นผลผลิตหนึ่งรายการหรือมากกว่า ตัวอย่างเช่นบอกไซต์ (อินพุต) ถูกประมวลผลเพื่อแยกอลูมิเนียม (ผลลัพธ์) ขั้นตอนการประกอบเป็นเพียงที่อยู่ตรงข้าม ปัจจัยพื้นฐานเช่นทรัพยากรธรรมชาติวัตถุดิบหรือทรัพยากรมนุษย์ถูกรวมเข้าด้วยกันเพื่อสร้างผลผลิตหรือการเปลี่ยนแปลงเข้าไปในเอาต์พุต ตัวอย่างเช่นเครื่องบินถูกสร้างขึ้นโดยการประกอบชิ้นส่วนหลายพันชิ้นซึ่งเป็นข้อมูลวัตถุดิบ ผู้ผลิตเหล็กใช้ความร้อนในการเปลี่ยนเหล็กและวัสดุอื่น ๆ เป็นเหล็ก ในการบริการลูกค้าอาจมีบทบาทในกระบวนการเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างเช่นบริการจัดเตรียมภาษีรวมความรู้ของผู้จัดเตรียมภาษีกับข้อมูลของลูกค้าเกี่ยวกับการเงินส่วนบุคคลเพื่อให้การคืนภาษีเสร็จสมบูรณ์
เวลาการผลิต ข้อพิจารณาที่สองในการเลือกกระบวนการผลิตคือกำหนดเวลา กระบวนการ ที่ต่อเนื่องใช้ผลิตวิ่งยาวที่อาจมีอายุวันสัปดาห์หรือเดือนโดยไม่ต้องหยุดซ่อมบำรุงอุปกรณ์ เหมาะที่สุดสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณมากและมีความหลากหลายต่ำพร้อมชิ้นส่วนที่ได้มาตรฐานเช่นเล็บแก้วและกระดาษ บริการบางอย่างยังใช้กระบวนการต่อเนื่อง บริษัท ไฟฟ้าท้องถิ่นของคุณเป็นตัวอย่าง ต้นทุน ต่อหน่วยต่ำและการผลิตง่ายต่อการกำหนดเวลา
ในกระบวนการต่อเนื่องจะใช้การผลิตแบบสั้นเพื่อทำแบทช์ของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เครื่องจักรจะปิดตัวลงเพื่อเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในเวลาต่างกัน กระบวนการนี้ดีที่สุดสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณน้อยและหลากหลายเช่นที่ผลิตโดยการปรับแต่งจำนวนมากหรือการปรับแต่ง ร้านค้าหางานเป็นตัวอย่างของ บริษัท ที่ใช้กระบวนการไม่ต่อเนื่อง แม้ว่า บริษัท ผู้ให้บริการบางรายจะใช้กระบวนการต่อเนื่อง แต่บริษัท ผู้ให้บริการส่วนใหญ่มักใช้กระบวนการที่ไม่ต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่นร้านอาหารที่เตรียมอาหารรสเลิศแพทย์ ที่ทำการผ่าตัดและตัวแทนโฆษณาที่พัฒนาแคมเปญโฆษณาสำหรับลูกค้าธุรกิจล้วนแล้วแต่ปรับแต่ง การบริการให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย พวกเขาใช้กระบวนการไม่ต่อเนื่อง โปรดทราบว่า "การดำเนินการผลิต" อาจสั้นมาก – ปลาแซลมอนย่างหนึ่งตัวหรือการตรวจร่างกายครั้งละหนึ่งครั้ง (https://opentextbc.ca)
กระบวนการทางการเงิน
กระบวนการทางการเงินหมายถึงวิธีการและขั้นตอนเสร็จสมบูรณ์โดยสำนักงานการคลัง พวกเขารวมถึง แต่ไม่จำกัดเฉพาะ:การเก็บรวบรวมข้อมูลการจัดทำงบประมาณการวางแผน (การวางแผนเชิงกลยุทธ์กำไรขาดทุนและการวางแผนงบดุลการวางแผนทรัพยากรบุคคลการวางแผนทุนการวางแผนโครงการการวางแผนกำลังการผลิตและกำลังการผลิตการ วางแผนการขายและการดำเนินงานเป็นต้น)การคาดการณ์ (การพยากรณ์ระยะยาวการคาดการณ์การหมุนการพยากรณ์กระแสเงินสดและอื่นๆ)การสร้างแบบจำลองการเงินปิดการรวบรวมการรายงาน (การจัดการตามกฎหมายการเปิดเผย)
กระบวนการทางการเงินนั้นง่ายกว่าที่คุณคาดหวัง แผนภาพการไหลต่อไปนี้แสดงให้เห็นถึงความ เรียบง่ายของกระบวนการทางการเงิน
(https://www.tagetik.com)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad

Responsive Ads Here